Posted on

เทศกาลปีใหม่ของคนญี่ปุ่น

สวัสดีค่ะ เทศกาลปีใหม่คงเป็นอีกหนึ่งในเทศกาลที่หลาย ๆ คนรอคอย เพื่อใช้เวลาในวันหยุดยาวในช่วงสิ้นปีเฉลิมฉลอง เที่ยวพักผ่อนกับครอบครัว ก่อนจะกลับมาลุยงานกันต่อใช่ไหมคะ วันนี้ฟ้าเลยขอหยิบยกเทศกาลปีใหม่ วันนี้ฟ้าเลยขอหยิบยกเทศกาลปีใหม่ของคนญี่ปุ่น มาฝากทุกคนกันค่ะ ว่าจะมีความเหมือนหรือแตกต่างกับของไทยเรามากน้อยแค่ไหน เราลองไปดูกันดีกว่าค่ะ 

Japanese New Year
Japanese New Year

ในวันที่ 26 ธันวาคม ตามบ้านเรือนของคนญี่ปุ่นจะถูกประดับตกแต่งด้วย “คางามิโมจิ” ที่เป็นโมจิข้าวสองก้อนที่มีขนาดแตกต่างกัน มาวางเรียงซ้อนกันโดยมีผลส้มขมอยู่ประดับอยู่บนยอด หลังจากผ่านช่วงเทศกาลปีใหม่ไป ประมาณวันที่ 11 มกราคม ก็สามารถนำโมจิทั้งสองลูกไปรับประทานเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับคนในครอบครัวได้ “คาโดมัตสึ”  ที่จะเป็นของตกแต่งคู่ทำมากจาไม้ไผ่และสน จะถูกนำไปประดับไว้บริเวณทางเข้า และ “ชิเมนาวะ” ที่ทำมาจากเชือก มักจะถูกติดไว้ที่ทางเข้าตามความเชื่อที่ว่าจะเป็นการปัดเป่าวิญญาณชั่วร้าย โดยจะตกแต่งให้เข้ากับนักษัตรที่กำลังจะมาถึงในปีนั้น ๆ ค่ะ 

Japanese New Year

คาโดมัตสึ

Japanese New Year

ชิเมนาวะ

“โมจิทสึคิ”

“โอโซนิ”

“โมจิทสึคิ”  คือการตำโมจิด้วยค้อนไม้ด้ามใหญ่จนกระทั่งได้ความเหนียวที่ต้องการ ยืดออกอย่างทั่วถึง ก่อนจะนำมาปั้นเป็นรูป เพื่อรับประทาน ปกติโมจิหลายชุดจะถูกจัดเตรียมหลายวันไปจนถึงวันส่งท้ายปีเก่า และยังถูกใช้เป็นส่วนประกอบในของตกแต่งคางามิโมจิ และอาหารอย่าง “โอโซนิ”

 

และในคืนวันที่ 31 ธันวาคม คนญี่ปุ่นจะรับประทาน “โทชิโคชิ” เป็นอย่างสุดท้ายของปี ตามความเชื่อที่ว่าเส้นบะหมี่ที่ยาวนั้นจะช่วยต่ออายุให้ยืนนาน และหากคุณทานบะหมี่ไม่หมดก่อนที่ปีใหม่จะมาเยือน ในปีนั้นคุณจะโชคร้าย

“โทชิโคชิ”

และในวันที่ 1 มกราคม อาหารมื้อแรกจะถูกทำขึ้นเพื่อรับประทานกันภายในครอบครัว ตามความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราญ นั้นก็คือ “โอเซชิ” ที่เป็นอาหารหลากหลายชนิดที่ถูกจัดว่างไว้อย่างสวยงามในกล่องเบนโตะ โดยมีอาหารที่มีความหมายที่เป็นมงคลตามความเชื่อของญี่ปุ่น เช่น 

  • คาซูโนโกะ หรือไข่ปลาแฮร์ริง ซึ่งเป็นปลาที่วางไข่เป็นจำนวนมาก หมายถึงการมีบุตรหลานสืบตระกูลต่อไป
  • ลูกปลาซาร์ดีนตากแห้ง เป็นสิ่งที่สื่อความหมายถึงการเพาะปลูกพืชไร่ให้ได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์
  • กุ้ง เพราะกุ้งที่มีลำตัวงอเปรียบได้กับการขอให้มีอายุยืนยาวจนหลังคุ้มงอ
  • ก้อนทองคำ ทำจากเนื้อเกาลัดนึ่งนำไปบดผสมกับถั่วลันเตาบดและมันฝรั่งบด ปั้นเป็นลูกกลมๆ มีสีเหลืองสวยเหมือนทองคำ เพื่อเป็นสิริมงคลและขอให้มีฐานะร่ำรวย
  • คมบุ คือสาหร่ายประเภทหนึ่งที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับความยินดี
  • คามาโบโกะ ลูกชิ้นปลาแท่งยาวที่หั่นเป็นแว่นๆ ดูคล้ายพระอาทิตย์ขึ้นในวันปีใหม่หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองเหมือนแสงอาทิตย์

นอกจากนี้ยังมีการดื่มสาเกเพื่อสุขภาพ 

ที่เรียกว่า “โทโสะ” ที่จะดื่มในเช้าวันขึ้นปีใหม่พร้อมหน้ากับสมาชิกทุกคนภายในครอบครัว เสิร์ฟในชุดจอกตื้นซ้อนกัน 3 ใบแบบดั้งเดิม ในสาเกมีส่วนผสมของสมุนไพรหลากหลาย ตามความเชื่อว่าโรคภัยที่ยังคงติดตัวมาจากปีเก่าจะถูกชะล้างไปพร้อมกับอวยพรให้อายุยืนยาวและมีสุขภาพแข็งแรง โดยจะเป็นการจิบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 

 

“โทโสะ”

และที่ขาดไปไม่ได้เลยก็คือการไปอธิษฐานขอพรแรกที่ศาลเจ้าหรือวัด แม้แต่ชาวญี่ปุ่นที่ไม่เคร่งในศาสนาหรือจิตวิญญาณก็จะไปที่ศาลเจ้าหรือวัดเพื่อขอพรแรกแห่งปี เป็นประเพณีที่เรียบง่าย ในระหว่างช่วงนี้ของปี หรืออาจจะมีการซื้อเครื่องรางสำหรับปีใหม่ ส่งคืนอันที่ซื้อไปเมื่อปีก่อน เพื่อนำไปเผาในศาสนพิธีตามแบบแผนของศาจเจ้า เพื่อเป็นการนำสิ่งไม่ดีออกไปพร้อมกับปีเก่า และเป็นการเริ่มต้นกับปีใหม่

 

เทศกาลปีใหม่ของญี่ปุ่นแม้จะดูเรียบง่ายแต่ก็แฝงไปด้วยกลิ่นอายที่ชวนหลงไหล ประเพณีที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น และได้รับการสืบทอดคงไว้จนเป็นเอกสัญลักษณ์ที่ดีงามภายในสังคม